ภูเขาไฟฟูจิที่คนไทยคุ้นเคยมานาน เพราะนอกจากจะเป็นสัญลักษณ์อันโดดเด่นของประเทศญี่ปุ่นแล้ว ยังปรากฏอยู่ในสื่อต่างๆ มากมาย จนทำให้นักท่องเที่ยวหลายคนที่ไปเที่ยวญี่ปุ่นมักจะต้องแวะเวียนไปเยี่ยมชมเป็นที่แรกๆ ของทริปเสมอ
ภูเขาไฟฟูจินั้นมีความสูงอยู่ที่ 3,776 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล เป็นอีกหนึ่งจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวทั้งหลายที่อยากจะไปพิชิตยอดฟูจิให้ได้สักครั้งในชีวิต รู้จริงญี่ปุ่นได้รวบรวมข้อมูลสำหรับการเตรียมตัวและรายละเอียดต่างๆ เกี่ยวกับการปีนขึ้นภูเขาไฟฟูจิมาให้ตามรายละเอียดด้านล่าง
ฤดูกาลปีนเขาฟูจิเริ่มเมื่อไหร่ถึงเมื่อไหร่
เมื่อฤดูร้อนของประเทศญี่ปุ่นมาถึง การปีนภูเขาไฟฟูจิก็เป็นอีกหนึ่งจุดหมายปลายทางที่ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวทั่วโลก
ฤดูกาลปีนเขาฟูจินั้นเริ่มตั้งแต่ต้นกรกฎาคมไปจนถึงกลางกันยายนของทุกปี โดยเส้นทางและสิ่งอำนวยความสะดวกบนเขาจะเริ่มเปิดให้บริการ ในช่วงนี้ภูเขาฟูจิจะไม่มีหิมะแล้ว อากาศก็เหมาะสม ไม่มีลมแรง รถบริการสาธารณะก็สามารถเข้าถึงได้อย่างสะดวก กระท่อมระหว่างทางก็เปิดให้บริการ นักปีนเขาทั้งหลายจะทยอยกันมาขึ้นเขาในช่วงนี้ ส่วนวันที่เฉพาะเจาะจงนั้นขึ้นอยู่กับประกาศในแต่ละปีแล้วก็ขึ้นอยู่กับแต่ละเส้นทาง (Trails) อีกด้วย
สามารถเช็ควันเปิด-ปิดฤดูกาลของแต่ละ Trails ได้ที่นี่
ช่วงที่ควรหลีกเลี่ยงเนื่องจากนักท่องเที่ยวเยอะมาก
ช่วงพีคของการปีนเขาฟูจิคือช่วงโรงเรียนปิดเทอมระหว่าง 20 กฤกฎาคม – ปลายสิงหาคม แล้วช่วงที่พีคที่สุดแบบนักปีนเขาต้องเข้าคิวกันขึ้นเขาเลยคือช่วง Obon Week ในราวๆ กลางสิงหาคม
ช่วงที่เหมาะสมสำหรับการปีนเขาคือระหว่างสัปดาห์ของต้นเดือนกฤกฎาคม ก่อนที่โรงเรียนในญี่ปุ่นจะปิดเทอม แต่ช่วงนี้ก็มีข้อเสียตรงที่อากาศจะแปรปรวนมากกว่าช่วงอื่นๆ ของฤดูกาล
นอกฤดูกาลปีนเขา ยังไปเที่ยวได้ไหม
กระท่อมข้างทางจะเปิดให้บริการไม่กี่วันก่อนเริ่มฤดูกาลและจะเปิดไปจนถึงกลางกันยายนเท่านั้น ส่วนรถบริการสาธารณะต่างๆ จะมีไม่บ่อยหรือแถบไม่มีเลยในช่วงนอกฤดูกาล
แม้ว่าจะไม่มีหิมะปกคลุมภูเขาฟูจิตั้งแต่มิถุนายนไปจนถึงตุลาคม และอุณหภูมิบนยอดเขาอาจจะลดต่ำกว่าศูนย์ได้ในบางช่วง ต้องเป็นนักปีนเขาอาชีพที่มีประสบการณ์เท่านั้นถึงจะขึ้นเขาในช่วงปลายมิถุนายนหรือกันยายม โดยเฉพาะหากมีหิมะปกคลุมยอดเขาจะต้องใช้อุปกรณ์เพิ่มเติมเป็นพิเศษ
ช่วงระหว่างตุลาคม – กลางมิถุนายน การขึ้นเขาฟูจิจะเต็มไปด้วยอันตรายมากมาย ทั้งจากสถาพอากาศ ลม หิมะ น้ำแข็ง และความเสี่ยงอื่นๆ
เพราะฉะนั้นการขึ้นเขาฟูจินอกฤดูกาลจึงไม่แนะนำสำหรับนักท่องเที่ยวทั่วไป
เส้นทางขึ้นเขา (Trails)
ภูเขาไฟฟูจินั้นแบ่งออกเป็นสิบชั้น หรือที่เรียกกันว่า “สถานี” (Station) สถานีชั้นที่ 1 นั้นตั้งอยู่ตีนเขา และสถานีชั้นที่ 10 คือยอดเขา ถนนรถวิ่งสามารถเข้าถึงได้ไกลสุดคือสถานีชั้นที่ 5 ซึ่งเป็นครึ่งทางของการขึ้นสู่ยอดเขา ที่สถานีในชั้นที่ 5 นี้ มีทั้งหมด 4 สถานีด้วยกัน โดยตั้งอยู่คนละด้านของภูเขา สถานีชั้นที่ 5 เป็นจุดที่นักท่องเที่ยวจะมาเริ่มต้นเส้นทางขึ้นเขา
สถานีชั้นที่ 5 ทั้ง 4 สถานี มีสถานีอะไรบ้าง ดังนี้
- Fuji Subaru Line 5th Station (ตั้งอยู่ที่จังหวัดยามานาชิ)
จุดเริ่มเส้นทาง Yoshida Trail (เส้นทางที่ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยว) ความสูง: 2,300 meters
ใช้เวลาขึ้น: 5-7 hours
ใช้เวลาลง: 3-5 hours
- Subashiri 5th Station (ตั้งอยู่ที่จังหวัดชิซุโอกะ)
จุดเริ่มเส้นทาง Subashiri Trail ความสูง: 2,000 meters
ใช้เวลาขึ้น: 5-8 hours
ใช้เวลาลง: 3-5 hours
- Gotemba 5th Station (ตั้งอยู่จังหวัดชิซุโอกะ)
จุดเริ่มเส้นทาง Gotemba Trail ความสูง: 1,400 meters
ใช้เวลาขึ้น: 7-10 hours
ใช้เวลาลง: 3-6 hours
- Fujinomiya 5th Station (ตั้งอยู่จังหวัดชิซุโอกะ)
จุดเริ่มเส้นทาง Fujinomiya Trail ความสูง: 2,400 meters
ใช้เวลาขึ้น: 4-7 hours
ใช้เวลาลง: 2-4 hours
ความยากง่ายในการขึ้นเขา
เส้นทางค่อนข้างสบาย ไม่จำเป็นต้องใช้ทักษะการปีนเขาใดๆ มีเพียงบางช่วงที่ชันและเต็มไปด้วยหินเท่านั้น โดยจะมีป้ายบอกทางคอยเตือนนักท่องเที่ยวอยู่เสมอว่าจะมีอุปสรรคอะไรเล็กๆ น้อยๆ คอยอยู่ในทางข้างหน้า หรือช่วงไหนมีหินถล่มก็จะมีป้ายคอยเตือนตลอด สิ่งท้าทายเดียวของการขึ้นเขาฟูจิก็คืออ็อกซิเจนจะเบาบางลงเรื่อยๆ เมื่อเราขึ้นสูงขึ้นไปเรื่อยๆ เท่านั้นเอง
จ้างไกด์ จำเป็นไหม
ไม่จำเป็น เพราะทางขึ้นเขาไม่ได้ลำบากอะไร ที่สำคัญจะมีนักท่องเที่ยวใช้เส้นทางต่างๆ อยู่เสมอตลอดช่วงฤดูกาลปีนเขา คนส่วนมากไม่จำเป็นต้องมีไกด์นำทาง แต่ว่านักท่องเที่ยวบางคนที่ไม่อยากหาข้อมูลเส้นทางต่างๆ ด้วยตนเองอาจใช้บริการไกด์ท้องถิ่นหรือบริษัททัวร์ได้ หรือจะซื้อเป็นแพคเกจปีนเขามาจากโตเกียวเลยก็ได้
ช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการขึ้นเขา
นักท่องเที่ยวส่วนมากจะทำเวลาเพื่อขึ้นไปถึงยอดเขาให้ทันพระอาทิตย์ขึ้น โดยเฉพาะช่วงเวลาเช้าๆ เป็นช่วงเวลาที่ยอดเขามีฟ้าโปร่งไม่มีเมฆปกคลุม
คำแนะนำสำหรับนักท่องเที่ยวที่ต้องการขึ้นไปดูพระอาทิตย์ขึ้น คือให้ปีนขึ้นไปที่สถานีชั้นที่ 7 หรือ 8 ก่อนในวันที่หนึ่งและนอนพักที่นั้นคืนหนึ่งก่อนจะตื่นแต่เช้าเพิ่อเดินขึ้นไปบนยอดเขาในเช้าตรู่ของวันที่สอง พระอาทิตย์ที่ฟูจิจะขึ้นโดยประมาณเวลา ตี 4:30 – 5:00 ในช่วงฤดูร้อน
ภาพจากยอดเขาฟูจิตอนประมาณ 4:15น. อีกนิดพระอาทิตย์ก็จะขึ้นแล้ว
พระอาทิตย์ขึ้นแล้ว
การขึ้นและลงภูเขาฟูจิภายในหนึ่งวันนั้นทำได้ แต่ไม่แนะนำ เพราะนักท่องเที่ยวจะเดินกลางแดดตลอดช่วงบ่ายเพราะบนนั้นไม่มีร่มเงาเพียงพอและที่สำคัญทัศนวิสัยบนเขาจะค่อนข้างมืดเป็นบางช่วงระหว่างวันเพราะเมฆมากบนบังแสงอาทิตย์
การเดินรอบปากปล่องภูเขาไฟจะใช้เวลาทั้งหมด 1 ชั่วโมง จุดสูงที่สุดของภูเขาฟูจิและประเทศญี่ปุ่นจะอยู่ถัดจาก Weather Station ตรงข้ามกับจุดสิ้นสุดของ Yoshida Trail
กระท่อมพักแรมบนเขา
หากใช้เส้นทาง Yoshida Trail จะมีกระท่อมพักแรมให้บริการในสถานีชั้นที่ 7 และ 8 อยู่มากกว่าสิบสองแห่ง ส่วนเส้นทางอื่นๆ จะมีจำนวนน้อยกว่า ส่วนมากแล้วราคาค้างคืนจะอยู่ราวๆ 5,000 เยน ต่อคน โดยไม่มีอาหารบริการ และ 7,000 เยน ต่อคนรวมอาหารสองมื้อ ช่วงพีคของฤดูกาลปีนเขา กระท่อมพักแรมเหล่านี้จะเต็มไปด้วยนักท่องเที่ยว แนะนำให้จองที่พักไปล่วงหน้าหากใครวางแผนจะค้างคืนบนฟูจิ
นักท่องเที่ยวสามารถเข้าไปหาเบอร์โทรสำหรับจองที่พักบนเขาได้ที่เวปไซด์ของ The Fujiyoshida City ตามลิงค์นี้
กระท่อมบางแห่งก็อนุญาติให้นักท่องเที่ยวที่ไม่ได้ตั้งใจจะค้างแรมเข้าไปนั่งพักด้านในได้ โดยจะคิดราคา 1,000 – 2,000 เยน ต่อคน ต่อชั่วโมง บางแห่งมีห้องน้ำให้บริการแต่ต้องเสียค่าบริการ ราวๆ 100 – 200 เยน และมีบริการขายอาหาร น้ำดื่มและอุปกรณ์จำเป็นอื่นๆ ด้วย เช่น อ๊อกซิเจนกระป๋อง อีกหนึ่งบริการที่นักท่องเที่ยวชื่นชอบคือ การประทับตราลงบนไม้เท้าปีนเขา นักท่องเที่ยวนิยมไปซื้อไม้เท้าปีนเขาก่อนเริ่มเดินทางแล้วนำไปประทับตราไว้เพื่อเป็นที่ระลึก โดยมีการเสียค่าบริการประทับตราเพียงเล็กน้อย
อุปกรณ์ปีนเขาที่จำเป็น
เพื่อให้การเดินขึ้นเขาฟูจิของเราปลอดภัย เรามาเตรียมอุปกรณ์ที่จำเป็นและต้องนำไปด้วยกันก่อนดีกว่า
- รองเท้า
ต้องใช้รองเท้าปีนเขาเท่านั้นเพราะบางช่วงอาจจะต้องปีนขึ้นที่ชันหรือทางเดินเป็นหิน แนะนำรองเท้าปีนเขาแบบหุ้มข้อเพื่อปกป้องข้อเท้าของนักท่องเที่ยว
- เสื้อผ้า
เตรียมเสื้อผ้ากันหนาวเพราะอุณหภูมิจะต่ำและต้องเตรียมเสื้อกันลมไปด้วย บางครั้งบนยอดฟูจิอาจมีอุณหภูมิต่ำกว่าศูนย์องศาได้ และมีลมแรงทำให้อากาศหนาวยิ่งหนาวขึ้นไปอีก ควรจะติดเสื้อกันฝนไปด้วย เพราะสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงรวดเร็วบนเขา ถุงมือก็เป็นไอเท็มที่สำคัญเพราะนอกจากจะปกป้องมือเราจากอากาศหนาวแล้วยังใช้สำหรับปีนป่ายในช่วงทางชันและช่วงที่เป็นหินได้
- ไฟฉาย แนะนำไฟฉายติดหัว
สำคัญมาก โดยเฉพาะหากเราวางแผนจะขึ้นเขาช่วงกลางคืนหรือเช้ามืด นักท่องเที่ยวบางคนใช้ไฟฉายแบบติดศีรษะซึ่งช่วยให้มือทั้งสองข้างวางสำหรับภารกิจอื่นๆ
- อาหาร
ควรเตรียมอาหารและน้ำดื่มไปให้เพียงพอ โดยเฉพาะหากนักท่องเที่ยวเลือกใช้เส้นทางที่ไม่ค่อยมีกระท่อมค้างแรมให้บริการ กระท่อมค้างแรมบนเขาเหล่านี้มีบริการน้ำและเครื่องดื่ม แต่ราคาก็จะสูงขึ้นตามความสูงเช่นกัน อย่าลืมเตรียมถุงขยะไว้สำหรับทิ้งขยะของเราเองไปด้วย เพราะบนเขาไม่มีบริการถังขยะสาธารณะ
- เงิน เงิน เงิน
เงินสดสำคัญมาก เพราะต้องใช้ซื้ออุปกรณ์จำเป็นบนเขาเช่นน้ำดื่ม อ๊อกซิเจนกระป๋องและใช้สำหรับเข้าห้องน้ำตลอดเส้นทาง และอาจต้องใช้ในกรณีฉุกเฉินเช่นต้องค้างแรม และอื่นๆ
- ไม้เท้าปีนเขา (บางคนไม่ใช้)
นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่นิยมซื้อไม้เท้าปีนเขาจากสถานีชั้นที่ 5 เพื่อช่วยผยุงระหว่างทาง ไม้เท้าปีนเขาเหล่านี้ราคาประมาณ 1,500 – 2,000 เยน มีขายตามร้านที่สถานีชั้นที่ 5 ทุกสถานียกเว้น สถานี Gotemba และหากเราเสียงเงินเพิ่มอีกไม่กี่ร้อยเยนเราจะสามารถนำไม้เท้าเหล่านี้ไปประทับตราไว้เป็นที่ระลึกได้อีกด้วยตามสถานีชั้นต่างๆ ที่เราผ่านก่อนจะไปถึงยอดเขา เป็นของที่ระลึกสำหรับนำกลับบ้านที่ได้รับความนิยม
มารยาทในการปีนเขาที่ควรรู้
ห้ามเด็ดต้นไม้หรือดอกไม้
ห้ามเก็บก้อนหินกลับบ้าน
ห้ามตั้งแคมป์บนเขา
ค่าบริการ
ในช่วงฤดูกาลปีนเขา นักท่องเที่ยวจะต้องจ่ายค่าผ่านทางประมาณ 1,000 เยน ต่อคน ค่าบริการเหล่านี้จะถูกนำไปใช้เพื่ออำนวยความสะดวกและดูแลสิ่งแวดล้อมและมาตราการความปลอดภัยของนักท่องเที่ยวที่มาในแต่ละปี
Altitude Sickness หรือโรคของคนขึ้นที่สูง
ร่างกายคนเราต้องใช้เวลาในการปรับตัวให้เข้ากับชั้นบรรยากาศบนที่สูง ไม่อย่างนั้นจะเกิดอาการเวียนศีรษะ วิงเวียนและมีอาการคลื่นไส้ได้ มีนักท่องเที่ยวจำนวนไม่เยอะหนักที่เจ็บป่วยจากอาการ Altitude Sickness
เพื่อหลีกเลี่ยงอาการไม่พึงประสงค์ คำแนะนำคือให้เดินช้าๆ ดื่มน้ำเยอะ แล้วหยุดพักบ่อยๆ และควรนอนพักค้างแรมที่สถานีชั้นที่ 7 และ 8 แทนที่จะรีบเร่งไปให้ถึงยอดเขา ควรซื้ออ๊อกซิเจนกระป๋องติดตัวมาจากสถานีชั้นที่ 5 หรือตามกระท่อมที่พักต่างๆ วิธีการเหล่านี้ทำให้เราสามารถหลีกเลี่ยงอาการไม่พึงประสงค์จากอาการ Altitude Sickness ได้
อย่างไรก็ตามวิธีที่จะรักษาอาการนี้คือต้องลงเขาอย่างเดียวเท่านั้น
วิธีการเดินทาง
รถบัสไปยัง Fuji Subaru Line 5th Station
จาก Shinjuku Station (Tokyo):
2,700 yen (เที่ยวเดียว), เวลาเดินทาง 140 นาที
6-10 เที่ยวต่อวันในช่วงฤดูกาลปีนเขา
2 เที่ยวต่อวันสำหรับวันเสาร์-อาทิตย์และวันหยุดในช่วงนอกฤดูกาล
Bus Timetable (climbing season)
Bus Timetable (off-season)
จาก Fujisan/Kawaguchiko Station:
1,540 yen (เที่ยวเดียว), 2,100 yen (ไป-กลับ), เวลาเดินทาง 50 นาที
มีรถให้บริการ 1-2 คันต่อชั่วโมงในช่วงฤดูกาลปีนเขา
มีรถให้บริการชั่วโมงละคันในช่วงนอกฤดูกาล
Bus Timetable (climbing season)
Bus Timetable (off-season)
How to get to Kawaguchiko Station
รถบัสไปยัง Subashiri 5th Station
จาก Gotemba Station:
1,540 yen (เที่ยวเดียว), 2,060 yen (ไป-กลับ), เวลาเดินทาง 60 นาที
มีรถให้บริการ 7-11 เที่ยวไปกลับต่อวันในช่วงฤดูกาล
มีรถให้บริการ 3 เที่ยวไปกลับต่อวันช่วงนอกฤดูกาลเฉพาะวันเสาร์อาทิตย์และวันหยุดเท่านั้น
Bus Timetable (climbing season)
Bus Timetable (off-season)
จาก Shin-Matsuda Station:
2,060 yen (เที่ยวเดียว), 3,100 yen (ไปกลับ), เวลาเดินทาง 90 minutes
มีรสให้บริการ 4-6 เที่ยวไปกลับต่อวันในช่วงฤดูกาลปีนเขา
รถบัสไปยัง Gotemba 5th Station
จาก Gotemba Station:
1,110 yen (เที่ยวเดียว), 1,540 yen (ไปกลับ), ใช้เวลาเดินทาง 40 นาที
มีรถให้บริการ 4-7 เที่ยวไปกลับต่อวันในช่วงฤดูกาลปีนเขา
มีรถให้บริการ 3 เที่ยวไปกลับต่อวันในช่วงนอกฤดูกาลเฉพาะวันเสาร์อาทิตย์และวันหยุดเท่านั้น
Bus Timetable (climbing season)
Bus Timetable (off-season)
รถบัสไปยัง Fujinomiya 5th Station
จาก Shin-Fuji and Fujinomiya Stations:
2,380 yen (เที่ยวเดียว), 3,100 yen (ไปกลับ), ใช้เวลาเดินทาง 120 นาที ตากสถานี Shin-Fuji Station
2,030 yen (เที่ยวเดียว), 3,100 yen (ไปกลับ), ใช้เวลาเดินทาง 90 นาที จากสถานี Fujinomiya Station
มีรถให้บริการทุกชั่วโมงในช่วงฤดูกาลปีนเขา
มีรถให้บริการ 3 เที่ยวไปกลับต่อวันในช่วงนอกฤดูกาลเฉพาะวันเสาร์อาทิตย์และวันหยุดเท่านั้น
Bus Timetable (climbing season)
Bus Timetable (off-season)
How to get to Fujinomiya
จาก Mishima Station:
2,460 yen (เที่ยวเดียว), 3,100 yen (ไปกลับ), ใช้เวลาเดินทาง 120 นาที
มีรถให้บริการ 1-6 เที่ยวไปกลับต่อวันในช่วงฤดูกาลปีนเขาเท่านั้น
Bus Timetable (climbing season)
การเดินทางโดยรถยนต์
เส้นทางรถยนต์ไปที่ Fuji Subaru Line 5th Station, Subashiri 5th Station และ Fujinomiya 5th Station จะปิดไม่ให้รถผ่านในช่วงฤดูกาลปีนเขา อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่บทความของแต่ละสถานีชั้นที่ 5